แนวข้อสอบวิชาเฉพาะรัฐศาสตร์ มธ.

11 พฤษภาคม 2021

อดีตดำรงตำแหน่งทางการเมืองของนายกรัฐมนตรีไทย (ควรจำ เพราะแนวข้อสอบออกบ่อยเช่นกัน เช่น ถามว่า นายกรัฐมนตรีคนใดไม่เคยดำรงตำแหน่ง รมว.กระทรวงกลาโหม)

  1. พระยามโนปกรณนิติธาดา : ตำแหน่งสมาชิก สส.ชุดแรก / นายกฯคนแรก(ประธานคณะกรรมการราษฎร)ของเมืองไทย
  2. พระยาพหลพลพยุหเสนา : รมว.กระทรวงกลาโหม การต่างประเทศ การคลัง เกษตราธิการ
  3. จอมพล ป. พิบูลสงคราม : นายกฯที่ดำรงตำแหน่งรวมเวลานานมากสุด คือ 14 ปี 11 เดือน 18 วัน
  4. ควง อภัยวงศ์ : อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข / รมว.กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตราธิการ
  5. ทวี บุณยเกตุ : เป็นนายกรัฐมนตรีที่มีระยะเวลาดำรงตำแหน่งสั้นที่สุด
  6. มรว.เสนีย์ ปราโมช : ผู้พิพากษา / เอกอัครราชทูตไทย ประจำสหรัฐอเมริกา / หัวหน้าทีมทนายความในคดีปราสาทเขาพระวิหาร พ.ศ. 2505 กับกัมพูชา ในศาลโลก / เป็นพลเรือนคนแรกที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  7. ปรีดี พนมยงค์ : ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในรัชกาลที่ 8 / รัฐบุรุษอาวุโส / รมว.กระทรวงการต่างประเทศ(แก้ไขสนธิสัญญาไม่เสมอภาค คือ1.สิทธิสภาพนอกอาณาเขต กับ2.ภาษีร้อยชักสาม) กระทรวงการคลัง / ผู้ก่อตั้งและผู้ประศาสน์การเพียงคนเดียวของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
  8. ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ : รมว. กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม
  9. พจน์ สารสิน : รมว.กระทรวงการต่างประเทศ / เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา
  10. ถนอม กิตติขจร : ผู้บัญชาการทหารบก / รมว.กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ / อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2503 - 2506)
  11. สฤษดิ์ ธนะรัชต์ : รมว.กระทรวงกลาโหม / ผู้บัญชาการทหารบก / อธิบดีกรมตำรวจ
  12. สัญญา ธรรมศักดิ์ : ประธานศาลฎีกา / คณบดีคณะนิติศาสตร์ / อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ / รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนู / ประธานองคมนตรี
  13. มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช : รับบทแสดงในภาพยนตร์เรื่อง The Ugly American (2506) ประเทศสารขัณฑ์ + ภาพยนตร์ ผู้แทนนอกสภา (2526)
  14. ธานินทร์ กรัยวิเชียร : องคมนตรี / ผู้พิพากษา
  15. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ : รมว.กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง / ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
  16. เปรม ติณสูลานนท์ : ประธานองคมนตรี / รัฐบุรุษ
  17. ชาติชาย ชุณหะวัณ : รมว.กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงกลาโหม
  18. อานันท์ ปันยารชุน : ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ / เอกอัครราชทูตไทยประจำสหประชาชาติ ประเทศแคนาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
  19. สุจินดา คราประยูร : รมว.กระทรวงกลาโหม / ผู้บัญชาการทหารบก
  20. ชวน หลีกภัย : รมว.กระทรวงยุติธรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี / ประธานสภาผู้แทนราษฎร
  21. บรรหาร ศิลปอาชา : รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง
  22. ชวลิต ยงใจยุทธ : รมว.กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม / ผู้บัญชาการทหารบก / รักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด
  23. ทักษิณ ชินวัตร : รมว.กระทรวงการต่างประเทศ
  24. สุรยุทธ์ จุลานนท์ : องคมนตรี / ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด / รมว.กระทรวงมหาดไทย
  25. สมัคร สุนทรเวช : รมว.กระทรวงกลาโหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม / ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
  26. สมชาย วงศ์สวัสดิ์ : รมว.กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงกลาโหม / ผู้พิพากษา / ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงแรงงาน
  27. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : ส.ส.กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2535
  28. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร : นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศ / รมว.กระทรวงกลาโหม / ส.ส.พรรคเพื่อไทย
  29. ประยุทธ์ จันทรโอชา : ผู้บัญชาการทหารบก

เหตุการณ์/ลักษณะสำคัญประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาที่น่าสนใจ

จอร์จ วอชิงตัน

1) ค.ศ.1789 ดำรงตำแหน่งPre USA คนแรก"เมื่อใดที่อิสรภาพเริ่มปรากฏ เมื่อนั้นการเติบโตจะกว้างใหญ่ไพศาล"

- Pre คนแรกของ USA = บิดาแห่งประเทศชาติ

2) เกิดความขัดแย้งในรัฐบาล ระหว่าง

- อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน : รัฐมนตรีฯการคลัง ต้องการให้รัฐบาลมีแผนที่ชัดเจน มีอำนาจทางการเงิน >> ตั้งพรรคสหพันธรัฐนิยม

- โทมัส เจฟเฟอร์สัน : รัฐมนตรีฯต่างประเทศ ต่อต้านและคัดค้านหลายๆอย่างแนวคิดของแฮมิลตัน

- วอชิงตันในฐานะเป็นนักปฏิบัติค่อนข้างสบับสนุนไปทางแฮมิลตันมากกว่าเจฟเฟอร์สัน

โทมัส เจฟเฟอร์สัน

1) ค.ศ.1801 ดำรงตำแหน่ง Pre.USA คนที่3

- ผู้เขียนคำประกาศอิสรภาพอเมริกา 4 ก.ค. 1776 ซึ่งต่อมามีผลต่อ อับราฮัม ลินคอล์น

2) ค.ศ.1803 ซื้อเขตแดนหลุยเซียน่าจากฝรั่งเศส

เจมส์ มอนโรว์

1) ค.ศ.1817 ดำรงตำแหน่ง Pre.USA คนที่5

2) ค.ศ.1819 ได้รัฐฟลอริดา

3) ค.ศ.1820 ข้อตกลงมิสซูรี ซึ่งรัฐมิสซูรีประกาศตนเป็นรัฐทาส + เข้าร่วมสหพันธ์ของรัฐเมน(รัฐอิสระ)

4) ค.ศ.1823 ประกาศวาทะมอนโรว์ (Monroe Doctrin) หลักความมั่นคงUSAและกั้นการเข้ามาของพวกยุโรป

หลักการสำคัญ มอนโรว์ คือ 

(1) อเมริกาจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับอาณานิคมของสเปนในทวีปอเมริกา

(2) หากชาติยุโรปเข้ามาแทรกแซงประเทศในทวีปอเมริกา อเมริกาจะถือว่าการกระทำนั้นเป็นภัยคุกคามต่อประเทศอเมริกาด้วย

(3) อเมริกาจะไม่ยอมให้ประเทศใดในทวีปยุโรปเข้ามาแสวงหาอาณานิคมในทวีปอเมริกาอีกต่อไป

แอนดรูว์ แจ็กสัน

1) ค.ศ.1829 ดำรงตำแหน่ง Pre.USA คนที่7

- โอลด์ฮิกกอรี่ (Old Hickory)

- รัฐบุรุษอเมริกัน

 2) นโยบายการพัฒนาแบบใหม่ “ประชาธิปไตยแจ็กสัน” (Jacksonian democracy)

 3) เกิดความไม่พอใจระหว่างรัฐเหนือ (ไม่เห็นด้วยระบบทาส) VS รัฐใต้ (อยากมีทาส) ขัดแย้งกันเบาๆ

อับราฮัม ลินคอล์น

- ก่อนหน้านี้ มีความเข้มข้น การเลือกตั้งดุเดือด ของ2พรรค คือ พรรครีพับลีกัน(อับบราฮัม ลิงคอล์น) VS พรรคเดโมแครต(สตีเฟ่น ดักลาส) ต่างชูนโยบายเดียวกัน ซึ่งพรรครีพับลีกันชนะ

- รัฐฝ่ายใต้ 7 รัฐ แยกตัวออกจากUSA = ตั้งสมาพันธรัฐ

 1) ค.ศ.1861 ดำรงตำแหน่ง Pre.USA คนที่16

- " จงทำลายศัตรูของท่านด้วยการทำให้เขาเป็นมิตร "

- "สิ่งที่สำคัญมิใช่คุณมีชีวิตยืนยาวเพียงใด หากแต่คุณได้ใช้ชีวิตอย่างไรในเวลาที่คุณมี" 

 2) ค.ศ. 1861-1865 สงครามกลางเมืองอเมริกา (American Civil War)

- ค.ศ. 1861-1863 ปัญหาทาส ขัดแย้งกัน ระหว่างรัฐเหนือ ต่อต้านทาส กับ รัฐใต้ ต้องการทาส สู้รบจนฝ่ายใต้เกือบชนะ

- ค.ศ. 1863 ในที่สุดฝ่ายเหนือ นำทัพโดยนายพล แกรนต์ สู้จนชนะสงครามมีประกาศปลดปล่อยทาส + แก้ไข รธน.ครั้งที่30

- ค.ศ. 1864 เกิดการแตกภายในกันเอง

- ค.ศ. 1865 ยกเลิกทาส มอบความอิสระและเสรีภาพทั่วประเทศ

รัทเทอร์ฟอร์ด บี. เฮส์

1) ค.ศ.1877 ดำรงตำแหน่ง Pre.USA คนที่19

2) นโยบาย “ทรู แรดดิคัล คอมพลีท”

3) เน้นเศรฐกิจ

- พัฒนาประเทศสู่ประเทศอุตสาหกรรม = ยุคเคลือบทอง (The Gillded Age) ตั้งแต่ ช่วงPre19-Pre26

- เกิด บรรษัท(corporation) + ทรัสต์(trust)

ทีโอดอร์ โรสเวลต์

1) ค.ศ.1901 ดำรงตำแหน่ง Pre.USA คนที่26

- Teddy's Bear, Teddy House

2) ค.ศ. 1903 ผลักดันให้ขุดคลองปานามา

3) ค.ศ. 1905 ได้รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ

- ช่วยเหลือคนจน สร้างความเสมอภาคในเรื่องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น ออกกฎหมายควบคุมtrust + ควบคุมแรงงานเด็ก + ควบคุมการรถไฟ + และอื่นๆ

- เน้นอนุรักษ์ธรรมชาติ (ป่าไม้) .

วูดโรว์ วิลสัน

1) ค.ศ.1913 ดำรงตำแหน่ง Pre.USA คนที่28

2) ค.ศ. 1914 เกิดWW.1

3) ค.ศ. 1915 เยอรมณี ยิงเรือ Lusitania เรือขนถ่านดินระเบิด ผู้โดยสารส่วนใหญ่ชาวUSAและEng

- ลูซิทาเนีย จอดที่ท่าเรือ 54 ที่นิวยอร์กในวันที่ 1 พฤษภาคม 1915. สถานทูตเยอรมนีในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

4) ค.ศ.1917 USA ประกาศสงครามกับเยอรมณี >> WW.1

5) ค.ศ. 1919 สิ้นสุด WW.1 โดยฝ่ายสัมพันธมิตร(Triple Entente)ชนะ ทำให้ประเทศผู้แพ้ ทำสนธสัญญาแวร์ซายส์

- คำแถลง 14 ประการของวิลสัน

- บิดาแห่งบริหารรัฐกิจ จุดเริ่มต้นสาขานี้

- ได้รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ 1919

แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์

1) ค.ศ.1933 ดำรงตำแหน่ง Pre.USA คนที่32

- เป็นPre ยาวนานที่สุด โดยได้รับเลือกตั้งถึง 4 สมัย =12ปี

- เริ่มนโยบาย New Deal ได้แก่ ประกันสังคม ประกันการว่างงาน ดูแลกิจการธนาคาร ให้สินเชื่อSMEs และโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่

- รายการ Fire-side Chat

 2) ค.ศ.1939 เกิดWW. 2

- พลเอกดักลาส แมกอาร์เธอร์ (Douglas MacArthur)

- เสนอองค์การ สหประชาชาติ (United Nations)

แฮร์รี เอส. ทรูแมน

***ยุคแห่งศัตรูรบกันอย่างเยือกเย็น เห็นความแตกแยกเป็น2ขั้วอำนาจ***

1) ค.ศ.1945 ดำรงตำแหน่ง Pre.USA คนที่33

- เป็นคนอนุมัติให้ทิ้งระเบิดปรมาณูที่ ฮิโรชิมาและนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น จนในที่สุด14 สิงหาคม 1945 ญี่ปุ่นยอมแพ้

- หลักการทรูแมน (Truman Doctrine)

- ก่อตั้งสหประชาชาติ

 2) ค.ศ.1947 เกิดสงครามเย็น มีแผนมาร์แชลล์ (Marshall Plan) หรือ แผนงานฟื้นฟูยุโรป (European Recovery Programme;ERP)

3) ค.ศ.1949 ตั้งNATO

4) ค.ศ. 1950-1953 สงครามเกาหลี (สงครามตัวแทน)

5) ค.ศ. 1954 เริ่มสงครามเวียดนาม (สงครามตัวแทน)

ริชาร์ด นิกสัน

1) ค.ศ.1969 ดำรงตำแหน่ง Pre.USA คนที่37

***ยุคแห่งผ่อนคลาย สบายๆพักยกกันนิสนึง Detente***

- หลักการนิกสัน (Nixon Doctrine)

- ไปเยือนจีน และ USSR

2) ค.ศ.1973 ถอนกำลังทหารUSA ออกจากอินโดจีน (เวียดนาม)

3) ค.ศ.1974 คดีวอเตอร์เกต (Watergate scandal)

โรนัลด์ เรแกน

ค.ศ.1981 ดำรงตำแหน่ง Pre.USA คนที่40

- เพิ่มงบประมาณทหาร

- พัฒนาขีปนาวุธ

จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช

ค.ศ.1989 ดำรงตำแหน่ง Pre.USA คนที่41

- สิ้นสุดสงครามเย็น

- USA ขาดดุลการค้า

บิล คลินตัน

ค.ศ.1993 ดำรงตำแหน่ง Pre.USA คนที่42

- เน้นเศรษฐกิจดีขึ้น

- สัมพันธไมตรีกับนายกฯโทนี แบลร์ แห่งEng + ส่งทหารเข้าไปประเทศโซมาเลีย

- บุกกรุงโคโซโว

- คดีความสัมพันธ์ทางเพศกับ โมนิก้า ลูวินสกี้ จึงถูกอิมพีชเมนต์

จอร์จ ดับเบิลยู. บุช

ค.ศ.2001 ดำรงตำแหน่ง Pre.USA คนที่43

- เหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 (9/11)

- ประกาศสงครามอัฟกานิสถาน เพื่อโจมตีรัฐบาลตาลีบัน

- ไม่ร่วมตกลง พิธีสารโตเกียว เพราะเกรงกระทบด้านเศรษฐกิจ

- "แนวทางของข้าพเจ้านั้นเห็นว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นทางออก ไม่ใช่ปัญหา"

- เน้นสัมพันธเศรษฐกิจกับต่างประเทศอื่นๆมากขึ้น เช่น ละตินอเมริกา ตะวันออกกลาง

- ค.ศ.2003 บุกอิรัก เพื่อโค่นอำนาจของซัดดัม

ประธานาธิบดี 4 คน ของสหรัฐ ที่เมานต์รัชมอร์ (Mount Rushmore) รัฐเซาท์ดาโคตา (South Dakota) ได้แก่ จอร์จ วอชิงตัน, โทมัส เจฟเฟอร์สัน, ทีโอดอร์ รูสเวลต์, และ อับราฮัม ลิงคอล์น

สำหรับน้อง ๆ ที่สอบติดแล้ว จะมีเอกสารสัมภาษณ์ให้ฟรี เพื่อสร้างความมั่นใจในการตอบ ให้ทักมาที่ไลน์ LINE : @KruPwin

หากใครมีข้อมูล update เพิ่มเติม พี่วินจะมาบอกกล่าวในหน้านี้เสมอนะจ๊ะ เข้ามาติดตามได้เรื่อย ๆ จนถึงวันสอบจริง ติดต่อได้ที่

LINE : @KruPwin

facebook : triamdome (บ้านเตรียมโดม)

    ขณะนี้ใกล้สอบตรงแล้ว ขอให้น้อง ๆ รัก พี่วินทุกคน จงทำให้เต็มที่ เพราะอย่างน้อยจะสมหวัง หรือ ไม่สมหวัง เราก็ได้ประสบการณ์ทำสิ่งที่รักและความรู้ติดตัวเราเสมอ ออกจากห้องสอบจะได้เห็นรอยยิ้มและความภาคภูมิใจว่า "ดีที่สุด"แล้ว

จากสถิติระดับความยากง่ายของข้อสอบจากคำกล่าวนักเรียนเตรียมโดมส่วนใหญ่ ว่า ..

ปี 56 ง่าย

ปี 57 ยากมาก ไม่ตรงที่อ่าน กว้างและลึกมาก แทบทำไม่ได้เลย

ปี 58 ง่ายมาก ตรงกับที่อ่านสุด ๆ เห็นข้อสอบแล้วยิ้มทำได้เกือบทุกข้อเลย

ปี 59 ง่ายปานกลางออกเชิงวิเคราะห์เพิ่มขึ้น แต่ตรงกับที่อ่าน หลายคนทำได้

ปี 60 โจทย์ยาวขึ้น ยากขึ้นกว่าปีที่แล้ว ปีแรกสู่ TU STAR และปีสุดท้าย TU STAR

ปี 61-64 โจทย์และช้อยส์ยาว ปีแรกเข้าระบบ TCAS รอบ 3 วิเคราะห์เพิ่ม ระวัง "ข้อสอบเล่นคำ" เช่น ประธานาธิบดี เปลี่ยนเป็น นายกรัฐมนตรี ให้อ่านอย่างรอบคอบนะ เน้น ถูกต้อง และไม่ถูกต้อง มากขึ้น ตัวเลือกให้วิเคราะห์เพิ่มขึ้น แต่ไม่ยากเกินไป แต่มี 20% ที่ออกยากมาก ๆ 

ปี 64 รุ่นปัจจุบันมาลุ้นว่าปีนี้ยากหรือง่าย ขึ้นกับความรู้แต่ละคนรู้มากหรือน้อย ติดตามกันต่อไป

    อยากให้กำลังใจ น้อง ๆ และห่วงใยทุกคนว่า ชีวิตจริงมีทั้งสำเร็จ ผิดพลาด ผิดหวัง คะแนนน้อยบ้างกันได้ และหนึ่งในความสำเร็จบางครั้งต้องมีล้ม บางรุ่นเจอข้อสอบยากบ้าง แต่เราล้มในครั้งนี้ เพื่อสมหวังในสนามหน้า ขอทุกคนเปิดโอกาสให้ชีวิตเริ่ต้นใหม่เสมอ ดังนั้นสนามสอบตรงเป็นเพียงส่วนหนึ่ง ยังมีอีกหลาย ๆ สนามสอบและสนามสอบadmissionด้วย เพราะรุ่นพี่ ๆ เตรียมโดม ต่างติด ทั้งสอบตรงและadmission ไม่ว่า มธ. จุฬา ม.เกษตรศาสตร์ มศว. ++ และมหา'ลัยอื่น ๆ อีกมากมาย

    ขอให้ทุกคน สู้ !! อย่าเพิ่งกลัวอนาคต มุ่งมั่น พยายามเต็มที่กันก่อนนะ

    ขออวยพรให้ประสบความสำเร็จสมหวังที่ปรารถนาไว้ทุกคน

   ประทับใจและซาบซึ้ง นักเรียนมาก ๆ ทุกคนเก่งมาก อย่างน้อย ๆ เราสามารถชนะใจตัวเองที่ขยันอ่านหนังสือและได้ทำตามฝันแล้ว สำคัญกว่านั้นที่ตั้งใจเรียน ได้ความรู้ ข้อคิด เทคนิค ต่าง ๆ แรงบันดาลใจ ให้รอยยิ้ม มิตรภาพ แก่กันและกัน 


อุดมการณ์​ทางการเมือง​ (ส่วนนี้เพิ่มเติมจากคอร์สเนื้อการัฐศาสตร์​ มธ.​ SuperPol​ เตรียม​โดม)​


1. เสรีนิยม เน้นเศรษฐกิจสังคมที่ให้เอกชนมีอิสระดำเนินการ โดยรัฐแทรกแซงให้น้อยที่สุด


2. อนุรักษ์นิยม​ เน้นอุดมคติทางการเมือง การเศรษฐกิจ ที่ต้านทานการเปลี่ยนแปลง โดยยึดระเบียบที่คงเดิมไว้


3. ฟาสซิสต์ เป็นลัทธิการเมืองที่ผู้นำรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ +ชาตินิยมรุนแรง แต่ยังให้กรรมสิทธิ์ของเอกชน


4. ทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่ทุดคนมีกรรมสิทธิ์ + มีเสรีภาพในการผลิต และการค้า


5. สังคมนิยม เป็นทฤษฎี เศรษฐกิจ และการเมืองที่ให้รัฐ หรือส่วนรวมเป็นเจ้าของปัจจัยในการผลิต


6. คอมมิวนิสต์ เป็นลัทธิทุกอย่าง รวมเป็นส่วนกลางร่วมกันทั้งหมด เอกชนไม่มีส่วนสิทธิ์​นั้น


Google+
Line

บทความที่เกี่ยวข้อง

คอร์สเรียน