TCASter65

6 มีนาคม 2022

วิชาภาษาไทย เฉลยข้อสอบเสริม เพิ่มความแกร่ง 


เรื่องทรรศนะ

1. ตอบ 3) ความเมตตา ความหวังดีและความเข้าใจเพื่อนมนุษย์เป็นเสมือนยาที่ช่วยรักษาผู้ป่วยทางจิต เพราะการแสดงทรรศนะเป็นความเห็น โดยดูจาก “เป็นเสมือนยาที่ช่วยรักษา” เป็นการเปรียบเทียบตามความคิดเห็น

2. ตอบ 4) คำบาลีสันสกฤตที่ไทยเรานำมาใช้แต่เดิมไม่มีวรรณยุกต์ แต่เมื่อเรารับมาแล้ว เราก็ปรับให้เหมาะกับการออกเสียงตามความนิยมของคนไทย เพราะข้ออื่น ๆ มีความคิดเห็น = ทรรศนะ

ข้อ 1) ดูจากคำว่า “ควร” = แสดงความคิดเห็น

ข้อ 2) ดูจากคำว่า “ยังไม่ถูกจุด” = แสดงความคิดเห็น

ข้อ 3) ดูจากคำว่า “น่าจะ” = แสดงความคิดเห็น


เรื่องโต้แย้ง

1. ตอบ 3) พื้นที่ 3 อำเภอควรแยกมาตั้งเป็นจังหวัดใหม่หรือไม่

ประเด็นโต้แย้ง ประกอบด้วย

1) ข้อเสนอ ดูจากที่ว่า รัฐสภาพิจารณาแยกพื้นที่ 3 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ คือ ฝาง แม่อาย ไซยปรากการตั้งเป็น “จังหวัดฝาง” ย้ำว่า กล่าวถึง 3 อำเภอ จัดตั้งเป็น “จังหวัดฝาง”

2) ประเด็นโต้แย้ง ในที่นี่ คือ พื้นที่ 3 อำเภอควรแยกมาตั้งเป็นจังหวัดใหม่หรือไม่ จึงตอบ 3 ข้อ )

2. ตอบ 3) ควรสร้างอาคารพาณิชย์ในบริเวณที่เหลืออยู่หรือไม่


เรื่องการโน้มน้าวใจ

1. ตอบ 4) ถนอมเส้นผมของคุณให้ดำเป็นเงางามตราบนานเท่านาน เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมที่มีสารสกัดจากดอกอัญชัน

จากตัวเลือกทั้งหมดมีการแสดงการโน้มน้าวใจทุกข้อ แต่โจทย์ถามว่าข้อไหนโน้มน้าวใจได้ดีที่สุด

ข้อ 4) ดีที่สุด เพราะอ่านแล้ว โน้มน้าวให้คนฟังได้เข้าถึงความรู้สึกและคล้อยตามได้มากที่สุด เห็นได้จากที่ว่า “ถนอมเส้นผม” ถนอมแล้วยัง “ดำเป็นเงางาม” อ่านแล้วโน้มน้าวมาก ยิ่งบอกอีกว่า “ตราบนานเท่านาน” อ่านแล้วโน้มน้าวมากที่สุด

2. ตอบ 4) ห้องพักในโอกาสวันหยุดสุดสัปดาห์ของคุณและสมาชิกในครอบครัว

ข้อความที่มีการโน้มน้าวใจ อ่านแล้วแล้วไม่มีคำที่สะดุดโน้มน้าว เท่ากับข้ออื่น ๆ ที่ดูได้จาก

ข้อ 1) เห็นได้จากคำว่า “สไตล์ส่วนตัว” “ทันสมัย”

ข้อ 2) เห็นได้จากคำว่า “แบบเดอลุกซ์” “สวยที่สุดแห่งหนึ่งของไทย”

ข้อ 3) เห็นได้จากคำว่า “จะประทับใจตลอดไป”

3. ตอบ 2) การบริหารกายเป็นกิจกรรมที่มีลีลาเชื่องช้า แต่ช่วยการไหลเวียนของโลหิตและทำให้จิตแจ่มใส อ่านแล้วแล้วไม่มีคำที่สะดุดโน้มน้าว เท่ากับข้ออื่น ๆ ที่ดูได้จาก

ข้อ 1) เห็นได้จากคำว่า “มีสุขภาพดี” “อบอุ่นใจ” “ไร้กังวล”

ข้อ 3) เห็นได้จากคำว่า “ทรงพลัง” “กร้าวแกร่ง” “ทนทาน” “ไม่มีวันตายตลอดการใช้งาน”

ข้อ 4) เห็นได้จากคำว่า “มืออาชีพ” “สนุกสนานได้สาระ” “ยกระดับจิตใจ”

4. ตอบ 2) ศูนย์หัวใจบริการตรวจวินิจฉัย รักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด อ่านแล้วแล้วไม่มีคำที่สะดุดโน้มน้าว เท่ากับข้ออื่น ๆ ที่ดูได้จาก

ข้อ 1) เห็นได้จากคำว่า “แบบเหนือชั้นทุกขั้นตอน”

ข้อ 3) เห็นได้จากคำว่า “ยังคงอนุรักษ์ภาพชีวิตแบบโบราณ”

ข้อ 4) เห็นได้จากคำว่า “เพิ่มลูกเล่นเอาใจสุภาพสตรีผู้รักสวยรักงาม”


เรื่องเหตุผล

1. ตอบ 2) บุญเพ็ญร้องเพลงลูกทุ่งได้ไพเราะมาก คุณครูส่งเธอเข้าแข่งขันกับโรงเรียนอื่น แสดงเหตุไปสู่ผล

ส่วนข้อ 1), 3) และ 4) แสดงผลไปสู่เหตุ

2. ตอบ 3) รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา

3. ตอบ 4 ข้อสรุป ข้อสนับสนุน ข้อสนับสนุน สังเกตจากคำว่า “ด้วย” เป็นการแสดง ผล (ข้อสรุป) ไปหาเหตุ (ข้อสนับสนุน)

ข้อสรุป - เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วจากคนสู่คน

ข้อสนับสนุน - ด้วยเป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ

ข้อสนับสนุน - และติดต่อกันได้ง่าย

4. ตอบ 3) ข้อสรุป ข้อสนับสนุน ข้อสนับสนุน สังเกตจากคำว่า “เพราะ” เป็นการแสดง ผล (ข้อสรุป) ไปหาเหตุ (ข้อสนับสนุน)

ข้อสรุป - ภาษาท้องถิ่นในประเทศของเราเป็นภาษาสำคัญที่พวกเราพึงอนุรักษ์ไว้มิให้เพี้ยน กลายหรือสูญไป

ข้อสนับสนุน - เพราะภาษาท้องถิ่นเป็นเครื่องบ่งบอกถึงขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมของถิ่นนั้น

ข้อสนับสนุน – และยังทำให้เห็นสภาพสังคมของถิ่นอีกด้วย


เรื่องกำกวม ฟุ่มเฟือย

1. ตอบ 2) รถด่วนสายอุบลราชธานีตกรางที่ชุมทางบ้านภาชี อ่านแล้วไม่กำกวม ส่วนข้ออื่น ๆ อ่านแล้วไม่ชัดเจน = กำกวม

ข้อ 1) แปลได้ 2 อย่าง คือ

สมศักดิ์ + เพื่อน = สองคน หรือ สมศักดิ์ + เพื่อน (สองคน) = สามคน

ข้อ 3) แปลได้ 2 อย่าง คือ

ต้องการรถเพิ่มเป็น 2 คัน หรือ เอาคันเดียว แต่ไม่ใช่คันนี้

ข้อ 4 อ่านแล้วกำกวมตรงที่ว่า “ไปเยี่ยม” หรือ “รัก” เป็น “บางครั้ง”

2. ตอบ 4) พ่อแม่ชื่นชมปีติยินดีที่ลูกสาวสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก

มีคำฟุ่มเฟือย ตรงคำว่า “ชื่นชม และปีติยินดี” = ความหมายเหมือนกัน ควรใช้คำใดคำหนึ่ง

3. ตอบ 1) เด็กข้างบ้านวิ่งชนฉันหกล้มปากแตก

อ่านแล้วใช้ภาษากำกวม เพราะแปลได้ 2 อย่าง คือ ไม่รู้ว่าหกล้มปากแตกขยาย ฉัน หรือ เด็กข้างบ้าน


เรื่องระดับภาษา

1. ตอบ 3) ปัจจุบันพบว่าผู้สูงอายุที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจมีจำนวนมากขึ้น เพราะข้อนี้เป็นภาษาทางการ เหมาะสำหรับการเขียนรายงาน ส่วนข้ออื่น ๆ เป็นภาษาไม่ทางการ

2. ตอบ 4) เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ชาวบ้านสนใจดูแลรักษาแม่น้ำมากขึ้นจนน้ำมีคุณภาพดีถึงเกณฑ์มาตรฐาน เพราะข้อนี้เป็นภาษาทางการ เหมาะสำหรับการเขียนเรียงความมากที่สุด ส่วนข้ออื่น ๆ มีภาษาไม่ทางการ หรือ ภาษาพูด

3. ตอบ 2) ปัจจุบันวงการแพทย์มีความเห็นว่าความอ้วนเป็นโรคที่ต้องรักษา เพราะข้อนี้เป็นภาษาทางการ เหมาะสำหรับการเขียนเชิงวิชาการ ส่วนข้ออื่น ๆ มีภาษาพูด

4. ตอบ 3) มนุษย์สัมพันธ์คือความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน เพราะเป็นข้อเดียวที่เป็นระดับภาษาทางการ = ภาษาเขียน ส่วนข้ออื่น ๆ นั้นเป็นภาษาพูด จึงต่างจากข้ออื่น

5. ตอบ 4) คำคล้องจองที่ว่า “เหาะเหินเดินอากาศ” ความหมายตามศัพท์หมายถึงขึ้นเดินไปในอากาศ เพราะเป็นข้อเดียวที่เป็นระดับภาษาทางการ ส่วนข้ออื่น ๆ เป็นภาษาพูด


เรื่องโวหารการเขียน

1. ตอบ 1) ฝนตกกระหน่ำจนลืมหูลืมตาไม่ขึ้น เสื้อผ้าเปียกปอนลีบเข้าแนบลำตัว เพราะ การพรรณนา = อ่านแล้วเห็นภาพชัดเจน ข้อนี้อ่านแล้วเห็นภาพที่สุด ดูได้จากคำว่า “จนลืมหูลืมตาไม่ขึ้น” “ลีบเข้าแนบลำตัว”

ส่วนข้ออื่น ๆ เป็นการใช้บรรยายโวหาร จากการเล่าเรื่องให้เห็นภาพ

2. ตอบ 1) นักร้องประสานเสียงเปล่งเสียงพร้อมเพรียงกันเป็นสามระดับตามทำนองที่ฝึกฝนมาอย่างดี เพราะใช้บรรยายโวหาร = การเล่าเรื่อง

ส่วนข้ออื่น ๆ ใช้พรรณนาโวหาร เพราะให้เห็นภาพและอารมณ์


เรื่องการอ่าน

1. ตอบ 3) วิธีการเลือกซื้อสาลี่ ส่วนข้ออื่น ๆ ดูได้จาก

1) ข้อมูลพันธุ์สาลี่ - สาลี่หอมและสาลี่หิมะ

2) ประโยชน์ของสาลี่ - มีคุณค่าทางอาหารสูงเพราะมีธาตุอาหาร

3) ความนิยมในการรับประทานสาลี่ - ตำราอาหารจีนยกให้สาลี่เป็น “สุดยอดแห่งผลไม่”

2. ตอบ 3) ปีที่สร้างถนน ส่วนข้ออื่น ๆ ดูได้จาก

1) ที่มาของชื่อถนน - ตั้งชื่อเป็นอนุสรณ์แก่ พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)

2) ผู้ตั้งชื่อถนน - รัฐบาลให้ตั้งชื่อว่าถนนพหลโยธิน

4) ประโยชน์ใช้สอยของถนน - เชื่อมกรุงเทพฯ กับจังหวัดทางภาคเหนือของไทย


... 


ขอให้น้องรักทุกคนประสบความสำเร็จคณะที่หวังไว้นะจ๊ะ 

พี่วิน เตรียมโดมเป็นกำลังใจ

สู้ สู้ จ้ะ

รัก

ครูพี่วิน เตรียมโดม


ปล. วิชาสังคมศึกษา​พิทพ์คำว่า MT65 ส่งไปที่ LINE @KruPwin




โปรโมชั่นคอร์สใหม่ เปิดครั้งเดียวในรอบปี ติวออนไลน์

คอร์ส Shortcut​ ภาษาไทย​ ปกติ 1,000.- เหลือ 490.-

คอร์ส Shortcut​ สังคม 1,200.- เหลือ 590.-

แพคคู่ คุ้มกว่า!! คอร์ส Shortcut​ ภาษาไทย​และสังคม ปกติ2,200.- เหลือ990.-

  • รายละเอียดและรับสมัครตั้งแต่ 20 ก.พ. 65
  • ระยะเวลาเรียนได้ถึงวันสอบวิชาสามัญ (20 มี.ค.)
  • ส่งท้ายก่อนสอบด้วยรักและคิดถึงแล้วเจอกันน้าาา

รายละเอียดเพิ่มเดิม

Google+
Line

บทความที่เกี่ยวข้อง

คอร์สเรียน